น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า “น้ำมันเครื่อง” ประกอบไปด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ น้ำมันพื้นฐาน และสารเสริมคุณภาพ แล้วทำไมเราต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องด้วยล่ะ? ก็เพราะน้ำมันเครื่องนั้นมีคุณสมบัติที่ทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานอีกทั้งยังเป็นฟิล์มเคลือบตัวโลหะและชิ้นส่วนต่างๆ ที่เป็นโลหะในเครื่องยนต์ หากปล่อยให้เสียดสีกันโดยตรงเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการสึกหรอและเกิดความร้อนสะสมขึ้นเป็นจำนวนมาก

น้ำมันเครื่องคืออะไร ทำไมต้องเปลี่ยน

น้ำมันเครื่อง คือตัวที่ทำความสะอาดคราบเขม่า และเศษโลหะภายในเครื่องยนต์ ซึ่งสามารถป้องกันการกัดกร่อนของสนิมและกรดต่าง ๆ แถมยังป้องกันกำลังอัดของเครื่องยนต์รั่วไหลได้อีกด้วย โดยน้ำมันเครื่องนั้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์โดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเครื่องยนต์จะมีอยู่สองประเภทด้วยกันคือ เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล และน้ำมันเครื่องนั้นมีอยู่  3 ประเภทหลักด้วยกัน ซึ่งจะมีหลายชนิดและหลายเกรด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการแยกประเภทและการใช้งานให้เหมาะสม ดังนี้

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์  (Full Synthetic)

มีกระบวนการการผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานสังเคราะห์ น้ำมันชนิดนี้ให้คุณภาพของน้ำมันเครื่องดีที่สุด มีคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพการใช้งานที่ความร้อนสูงได้เป็นอย่างดี และไหลได้ดีที่ในอุณหภูมิต่ำ มีอายุการใช้งานมากกว่าน้ำมันเครื่องตัวธรรมดาอื่นๆ มาก แต่ราคาก็จะสูงตามประสิทธิภาพเช่นกัน ระยะการใช้งานอยู่ที่ 10,000 – 15,000 กิโลเมตร

น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic)

มีกระบวนการการผลิตจากน้ำมันสังเคราะห์แท้และน้ำมันจากธรรมชาติในสัดส่วนที่ต่างกัน เพื่อทำให้น้ำมันเครื่องชนิดนี้มีคุณสมบัติดีกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดาทั่วไป ระยะการใช้งานอยู่ที่ 7,000 – 10,000 กิโลเมตร

น้ำมันเครื่องธรรมดาหรือน้ำมันเครื่องปิโตรเลียม (Mineral Oil)

ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม ราคาจะถูกที่สุดในบรรดาน้ำมันเครื่องยนต์ ระยะการใช้งานอยู่ที่ 5,000 – 7,000 กิโลเมตร 

คุณสมบัติที่ดีของน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องที่มีคุณสมบัติที่ดีจะขึ้นอยู่กับการใช้น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและสารเติมแต่งที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดคุณภาพและสร้างความมั่นใจได้ว่าแบบไหนจึงจะเหมาะสมแก่การใช้งานของเครื่องยนต์แต่ละประเภทเช่น มีคุณสมบัติในการชะล้าง สามารถกระจายสิ่งสกปรก มีความหนืดหรือความข้นใสที่เหมาะกับการใช้งานแต่ละประเภท ป้องกันการสึกหรอได้ มีสารป้องกันสนิม มีสารลดความฝืด และอื่นๆ เป็นต้น

หน้าที่หลักและประโยชน์ของน้ำมันเครื่องที่ควรรู้

  • ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์
  • ป้องกันการกัดกร่อน การเกิดสนิม และคราบเขม่าควัน
  • ช่วยระบายความร้อนของตัวเครื่องยนต์
  • รักษาความสะอาดของเครื่องยนต์
  • ช่วยลดการสึกหรอและลดแรงเสียดทานของเครื่องยนต์
  • รักษากำลังอัดของเครื่องยนต์

มาตรฐานสากลของน้ำมันเครื่องยนต์

ปัจจุบันสามารถอ้างอิงมาตรฐานที่นิยมใช้ในการอ้างอิงทั่วไปอยู่ 5 มาตรฐานได้แก่

  1. มาตรฐานเฉพาะของผู้ผลิตเครื่องยนต์ 
  2. มาตรฐานกลาง (MEA : Engine Manufactor Associasion)
  3. มาตรฐานประเทศญี่ปุ่น (JASO : Japan Automotive Standard Organization)
  4. มาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา (API : American Petroleum Institute)
  5. มาตรฐานของกลุ่มประเทศยุโรป (ACEA : Association of European Aotomotive Manufacturers)

โดยส่วนใหญ่ผู้บริโภคควรสังเกตการแสดงมาตรฐานสากลของน้ำมันเครื่องยนต์จากบนฉลากขวดของผลิตภัณฑ์ แต่มาตรฐานที่นิยมใช้และแพร่หลายมากที่สุดคือมาตรฐาน API ถึงแม้ข้อกำหนดรายละเอียดต่างๆของมาตรฐานจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตามสภาพจริงในการใช้งานของภูมิภาคประเทศนั้นๆก็ตาม

การเลือกใช้น้ำมันเครื่องอย่างไรให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์

  1. ควรเลือกเปลี่ยนน้ำมันเครื่องยนต์ตามประเภทของรถยนต์และมาตรฐาน API กล่าวคือ รถยนต์มีเครื่องยนต์ 2 ประเภท คือ เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล ควรอ้างอิงตามข้อมูลรถยนต์เป็นหลัก
  2. เลือกตามชนิดของน้ำมันเครื่องยนต์ 
  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์
  • น้ำมันเครื่องธรรมดาหรือปิโตรเลียม
  1. เลือกจากค่าความหนืด (SAE) หรือเบอร์น้ำมันเครื่อง โดยใช้กับประเทศเมืองร้อน จึงแบ่งตัวเลขความหนืดเลขตัวหลังเป็นหลัก ซึ่งบนฉลากของผลิตภัณฑ์จะแสดงค่า SEA 20, 30, 40, 50, 60 เพื่อแสดงค่าความหนืดหรือความข้นใสของตัวน้ำมันเครื่องที่อุณหภูมิต่ำและสูง (ยิ่งตัวเลขมากยิ่งมีความหนืดมาก) ตัวอย่างการเลือกใช้ เช่น
  • รถขนาดเล็ก เน้นการใช้งานในเมืองเป็นหลัก หรือรถใหม่ ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง เลือกน้ำมันเครื่องเป็นเบอร์ 20 หรือ 30
  • รถที่ผ่านการใช้งานมามากกว่าหนึ่งแสนกิโลเมตร หรือรถทั่วไป เลือกใช้เบอร์ 40 เพื่อปกป้องเครื่องยนต์ในสภาวะขับขี่หนักหน่วง
  • รถเก่าที่มีอาการกินน้ำมันเครื่องมาก ต้องการฟิล์มหนาเพื่อป้องกันชิ้นส่วนเครื่องยนต์มักจะเลือกใช้เบอร์ 50 – 60 ขึ้นไป

ราคาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องดีเซลและเบนซิน

ราคาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องสามารถแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทและยี่ห้อของน้ำมันเครื่อง, ปริมาณน้ำมันเครื่องที่ต้องใช้, ค่าแรงบริการ, และสถานที่ที่ให้บริการ เช่น

น้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์เบนซิน

  • น้ำมันเครื่องธรรมดา ราคาอยู่ที่ประมาณ 500 – 1,000 บาท
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,000 – 1,500 บาท
  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์เต็ม ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500 – 2,500 บาท

น้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซล

  • น้ำมันเครื่องธรรมดา ราคาอยู่ที่ประมาณ 800 – 1,500 บาท
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500 – 2,000 บาท
  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์เต็มราคาอยู่ที่ประมาณ 2,000 – 3,000 บาท

และหากใครกำลังมองหาศูนย์บริการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่มีราคาย่อมเยา เครื่องมือครบวงจร สามารถนำรถยนต์เข้ามาตรวจเช็กระยะได้ที่ MAPORN ZUSUKI ซึ่งทางเรามีช่างชำนาญการที่สามารถให้คำแนะปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องได้เป็นอย่างดี เพื่อ ให้ผู้บริการได้รับความมั่นใจ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้ามาดูได้ที่ mapornsuzukith  หรือ แอดไลน์  Line @mapornsuzuki  เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

เปลี่ยนน้ำมันเครื่องกี่กิโล 

การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องโดยทั่วไป

น้ำมันเครื่องธรรมดา ควรเปลี่ยนทุก ๆ 5,000 – 7,500 กิโลเมตร หรือทุก 3-6 เดือน
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนทุก ๆ 7,500 – 10,000 กิโลเมตร หรือทุก 6-9 เดือน
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนทุก ๆ 10,000 – 15,000 กิโลเมตร หรือทุก 9-12 เดือน

น้ำมันเครื่องยี่ห้อไหนดีที่สุด 

การเลือกน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมสำหรับรถยนต์ของคุณนั้นสำคัญมาก เพื่อรักษาสมรรถนะของเครื่องยนต์และยืดอายุการใช้งาน วันนี้เรามีข้อมูลน้ำมันเครื่องที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นยี่ห้อที่ดีที่สุดในปี 2024 มาแนะนำ เช่น Idemitsu IFG 5 เป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100% ที่มีเทคโนโลยี Quintet Guard ช่วยรักษาความสะอาดของลูกสูบ ลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ เพิ่มพลังขับเคลื่อนและประหยัดเชื้อเพลิงดีเยี่ยม เหมาะสำหรับรถยนต์เบนซิน ค่าความหนืด 5W-30 ใช้ได้ถึง 15,000 กิโลเมตรหรือ 6 เดือน ซึ่งการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องรถเก๋ง ราคาประมาณ 2,000 บาท เป็นต้น

น้ำมันเครื่อง 10 W 30 กับ 10 W 40 ต่างกันยังไง

น้ำมันเครื่อง 10W-30 และ 10W-40 ต่างกันหลัก ๆ ในเรื่องของความหนืด (viscosity) โดยเฉพาะในอุณหภูมิสูง ความหนืดของน้ำมันเครื่องเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในการปกป้องเครื่องยนต์ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ซึ่งหากเครื่องยนต์ทำงานในสภาวะปกติหรือไม่ต้องการการปกป้องพิเศษในสภาวะร้อนจัด น้ำมันเครื่อง 10W-30 อาจเป็นตัวเลือกที่ดี หรือหากเครื่องยนต์ต้องการการปกป้องเพิ่มเติมในสภาวะการทำงานที่หนักมากขึ้นหรือในสภาพอากาศที่ร้อนจัด น้ำมันเครื่อง 10W-40 อาจจะเหมาะสมกว่า