การตรวจสภาพรถ ต่อภาษี เป็นหนึ่งในหน้าที่ของผู้ขับขี่ เพราะเมื่อใช้งานไปนานๆ รถก็ย่อมเสื่อมสภาพ และอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติบนท้องถนนที่ไม่เพียงจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ขับขี่เอง แต่ยังรวมถึงผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นด้วย เพื่อความปลอดภัย Maporn Suzuki จึงมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับตรวจสภาพรถยนต์มาฝาก จะต้องตรวจเมื่อไหร่ ? ตรวจที่ไหน ? ราคาต่อพรบตรวจสภาพรถเท่าไหร่ ? ไปหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลย

ตรวจสภาพรถ ตรอ คืออะไร

ตรอ. ย่อมาจาก สถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชน ที่ผู้ใช้รถยนต์ รวมถึงมอเตอร์ไซค์ สามารถนำรถของตนเองเข้าไปตรวจสภาพ เพื่อนำเอกสารไปยื่นต่อภาษี หรือต่อ พ.ร.บ เป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนไม่ต้องเข้าไปตรวจสภาพที่กรมการขนส่งโดยตรง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าไปตรวจที่ไหนก็ได้ เพราะต้องเป็นศูนย์บริการที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น โดยสังเกตได้จากสัญลักษณ์ ตรอ. ที่ติดบริเวณทางเข้า

ตรวจสภาพรถ รถประเภทไหนบ้างที่ต้องตรวจ 

ตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก ระบุไว้ว่ารถที่อยู่ในข่ายต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี ได้แก่

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป
  • รถบรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งาน 5 ปีขึ้นไป

ทั้งนี้การนับอายุการใช้งาน ให้เริ่มนับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรก ถึงวันสิ้นสุดอายุภาษีประจำปี  โดยสามารถนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี หากตรวจแล้วผ่านเกณฑ์จะได้ใบรับรองการตรวจสภาพรถ แต่หากไม่ผ่าน สามารถนำไปซ่อมบำรุงและนำกลับมาให้ตรอ ตรวจสภาพรถอีกครั้งภายใน 15 วัน จะเสียค่าตรวจสภาพเพียงครึ่งหนึ่งของค่าบริการปกติ แต่หากเกิน 15 วันไปแล้ว หรือนำรถไปตรวจสภาพที่ตรอ. อื่นจะต้องจ่ายราคาเต็ม 

ตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ใช้อะไรบ้าง 

สิ่งที่ต้องนำไปด้วยคือ รถที่ต้องการตรวจ และสมุดเล่มทะเบียนรถ หากเป็นรถยนต์เล่มทะเบียนจะเป็นสีน้ำเงิน หากเป็นรถจักรยานยนต์เล่มทะเบียนจะเป็นสีเขียว ในกรณีที่ไม่มีเล่มทะเบียนรถตัวจริง สามารถใช้สำเนาได้ และอย่าลืมเตรียมเงินไปชำระค่าตรวจสภาพรถด้วย

ตรวจสภาพรถ ตรอ. ตรวจอะไรบ้าง 

  • ตรวจข้อมูลรถ 

เช็กว่าตรงกับข้อมูลในเล่มทะเบียนหรือไม่ เช่น ป้ายทะเบียนรถ, ประเภทรถ, ลักษณะของรถ, สีรถ, หมายเลขตัวรถ, ชนิดเครื่องยนต์, เลขเครื่องยนต์ เป็นต้น

  • ตรวจภายนอกและภายในรถ 

เช่น สภาพตัวถัง, เข็มขัดนิรภัย, พวงมาลัย, มาตรวัด, ระบบไฟส่องสว่าง, สัญญาณไฟ, ล้อยาง, ที่ปัดน้ำฝน เป็นต้น 

  • ตรวจใต้ท้องรถ 

เช่น เช็กเครื่องยนต์, ระบบเบรก, ระบบเลี้ยว, ระบบรองรับน้ำหนัก, ระบบส่งกำลัง, ระบบไอเสีย, ระบบเชื้อเพลิง เป็นต้น 

  • ตรวจประสิทธิภาพของระบบเบรก 

โดยจะทำการทดสอบบนลูกกลิ้ง และประเมินแรงห้ามล้อทุกอัน

  • ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และไฮโดรคาร์บอน (HC) 

เพื่อดูว่ารถปล่อยก๊าซทั้งสองชนิดในปริมาณที่เกินกำหนดหรือไม่ โดยจะทำการวัด ขณะเครื่องยนต์เดินเบาเมื่อเข้าเกียร์ว่างและปิดระบบปรับอากาศ จำนวน 2 ครั้ง ก่อนนำมาหาค่าเฉลี่ย ในกรณ๊ที่ติดตั้งระบบแก๊สจะมีการตรวจเช็กอุปกรณ์แก๊สทั้งระบบด้วย 

  • ตรวจเช็กควันดำ 

ตรวจวัดค่าควันดำขณะเร่งเครื่องด้วยความเร็วสูง ขณะเข้าเกียร์ว่างและปิดระบบปรับอากาศ โดยใช้เครื่องมือวัดความทึบของแสง และเครื่องมือวัดระบบกระดาษกรอง (Filter) ค่าที่ได้จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

  • ตรวจระดับเสียง 

ความดังจะต้องไม่เกิดเกณฑ์ที่กำหนดคือ 100 เดซิเบล ที่ระยะห่างจากรถ 0.5 เมตร

ตรวจสภาพรถยนต์ ราคาเท่าไร

ตรวจสภาพรถ 7 ปี ราคา 

    ราคาค่าตรวจสภาพรถยนต์ 7 ปี ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของตัวรถ ดังนี้

    • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม ตรวจสภาพรถยนต์ ราคาคันละ 200 บาท
    • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม ตรวจสภาพรถยนต์ ราคาคันละ 300 บาท

    ตรวจสภาพรถ 5 ปี ราคา

      การตรวจสภาพรถ 5 ปี จะใช้กับรถจักรยานยนต์ โดยค่าตรวจสภาพรถ ราคาคันละ 60 บาท

      ราคา ต่อพรบ ตรวจสภาพรถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ แตกต่างกันอย่างไร

      การต่อ พ.ร.บ. และการต่อภาษีไม่เหมือนกัน แต่เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถต้องทำทั้งคู่ โดยการต่อ พ.ร.บ. มีจุดประสงค์เพื่อรับความคุ้มครองในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น บาดเจ็บ เสียชีวิต ในรูปแบบของค่ารักษาพยาบาล หรือเงินชดเชย และเป็นเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ด้วย 

      ซึ่งการต่อพ.ร.บ. ของรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไปนั้น ก็ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถ จึงต้องนำรถเข้าไปตรวจสภาพกับ ตรอ. ก่อน ราคาค่าตรวจสภาพรถยนต์เท่ากัน ส่วนค่า พ.ร.บ. ของรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะอยู่ที่ 600 บาท ส่วนค่าต่อภาษีจะคำนวณจากประเภทของรถ และขนาดเครื่องยนต์ สามารถเช็กค่าภาษีรถประจำปีของตนเองได้ที่เว็บไซต์กรมขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/esvapp/esv/ebk/esv02q002/index.jsf

      การตรวจสภาพรถเป็นประจำ นอกจากจะช่วยป้องกัน และลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ยังช่วยลดการปล่อยมลพิษได้อีกด้วย ซึ่งการเช็คสภาพรถ ตรอ ราคาก็ไม่แพงเลย แถมยังสะดวกสบาย เพราะมีศูนย์กระจายอยู่ทั่วประเทศ แค่เสิร์ช คำว่า ‘ศูนย์ตรวจสภาพรถ ตรอ ใกล้ฉัน’ บน Google ก็เจอเลย ส่วนใครที่รถยังไม่เก่าเข้าเกณฑ์ที่ต้องนำไปตรวจกับ ตรอ. ก็สามารถมาใช้บริการตรวจเช็กระยะได้ที่ มาพร ซูซูกิ มีบริการตรวจเช็กสภาพของรถและอะไหล่ต่างๆ แบบครบวงจร เพื่อให้มั่นใจว่ารถของคุณอยู่ในสภาพดี และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยทุกการขับขี่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมแอดไลน์ได้เลยที่ Line @mapornsuzuki 

      คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับตรวจสภาพรถ ราคาเท่าไหร่

      ตรวจสภาพรถต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง 

      สมุดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมสำเนา 1 ชุด 
      หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบคุมและเครื่องอุปกรณ์ หรือใบวิศวกรสำหรับรถยนต์ติดแก๊ส LPG และ NGV

      ต่อภาษีกับ ตรอ.แพงไหม 

      ค่าต่อภาษีรถยนต์จะมีความจะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถและอายุการ โดยสามารถตรวจสอบอัตราค่าต่อภาษีรถได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก และค่าตรวจ ตรอ. หรือตรวจสภาพรถ จะมีราคามาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยรถยนต์ที่มีขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท รถยนต์ที่มีขนาดน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท

      ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ทําที่ไหน

      สามารถเข้ารับการตรวจสภาพรถได้ที่สำนักงานขนส่ง และร้านรับตรวจสภาพรถยนต์ของเอกชนที่เข้าร่วมกับสำนักงานขนส่งที่มีเครื่องหมาย ตรวจ ตรอ.